วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ต้นเขยตายแม่ยายชักปรก


รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
เรื่อง ต้นเขยตายแม่ยายชักปรก
ผู้ศึกษา
1.เด็กชาย นิรภัฎ     สรวญรัมย์        
2. เด็กชาย อุกฤษฏ์      ศรีพรหม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/11
ครูผู้สอน
ครูบุษบา   หงส์สกุล
ลำดับการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องที่ศึกษา
ต้นเขยตายแม่ยายชักปรก





 ลำดับการเรียนรู้ที่ 2 การตั้งคำถามที่อยากเรียนรู้จากเรื่องที่กำหนด
1. รากของต้นเขยตายแม่ยายชักปรกแก้อะไรได้บ้าง
2. รากของต้นเขยตายแม่ยายชักปรกมีสรรพคุณด้านใด
3. เปลือกของต้นเขยตายแม่ยายชักปรกมีรสชาติอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง
4. ต้นเขยตายแม่ยายชักปรกมีถิ่นกำเนิดที่ทวีปใด
5. ทำไมต้องชื่อว่า เขยตายแม่ยายชักปรก
6.ผลแก่ของต้นเขยตายแม่ยายชักปรกมีสีอะไร ขนาดประมาณเท่าไร
ลำดับการเรียนรู้ที่ 3 การตั้งสมมติฐาน
1 ต้นเขยตายฯ แก้อาการ งูสวัด พิษงู ขยุ้มตีนหมา ฯลฯ ได้
2 รากของต้นเขยตายฯ สามารถนำไปรักษาแมลงสัตว์กัดต่อยได้  โรคไข้กาฬ  และโรคผิวหนังพุพองได้
3 มีรสเมาร้อน รักษาฝีภายใน ภายนอก แก้พิษไข้ ฯ
4 ต้นเขยตายแม่ยายชักปรกมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปแอฟริกา
5 ต้นเขยตายฯ มีตำนานกล่าวว่าลูกเขยถูกงูพิษกัด แม่ยายเอาใบของเขยตายมาปรกร่างของลูกเขยไว้และไม่กี่ชั่วโมงลูกเขยก็ฟื้นขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์พืชชนิดนี้ยังได้ชื่อว่า เขยตายแม่ยายชักปรก
6 ผลแก่ของต้นเขตายมีสีชมพูหวานขนาด 1 เซนติเมตร

ลำดับการเรียนรู้ที่ 4 วางแผนรวบรวมข้อมูล
4.1 แหล่งข้อมูลที่จะไปศึกษา
1. สอบถามข้อมูลจากบุคคล
2. ศึกษาค้นคว้าจากวารสาร
3. ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือพิมพ์
4. ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ
5. ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต
6. ศึกษาค้นคว้าจากสถานที่จริง
4.2 หัวข้อย่อยที่จะศึกษา
1.การปลูกการขยายพันธุ์ของต้นเขยตายแม่ยายชักปรก
2.การรักษาโรคด้วยต้นเขยตายแม่ยายชักปรก
3.ตำนานเรื่องเล่าของต้นเขยตายแม่ยายชักปรก
4.ถิ่นกำเนิดของต้นเขยตายแม่ยายชักปรก
5.รสชาติส่วนต่างๆของต้นเขยตายแม่ยายชักปรก
6.ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์ ของต้นเขยตายแม่ยายชักปรก


ลำดับการเรียนรู้ที่ 5 การแสวงหาและตรวจสอบความรู้
5.1การสอบถามจากบุคคล
1.นางลำดวน  บุญภักดี
2.นายอรุณ  บุญภักดี
3.นางลำไย  ศรีสงสาร
4.หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
5.2การศึกษาค้นคว้าจากวาสาร     
ได้ศึกษาจากวารสารชื่อ ต้นไม้หายาก ฉบับที่ 115
ต้นเขยตายแม่ยายชักปรก
ว่ากันว่าต้นเขยตายแม่ยายปรกมีสรรพคุณทางยาสูง มีเรื่องเล่าบอกว่าว่า แม่ยายกับลูกเขยออกออกไปหาของในป่า ลูกเขยโดนงูกัดตาย แม่ยายเอาใบของต้นนี้มาปกคลุมร่างกายไว้ แล้วกลับไปเรียกคนมาช่วย กลับมาปรากฏว่าลูกเขยไม่ตาย  ดูซิครับแค่ใบปกคลุมร่างกลิ่นหอมระเหยจากใบสามารถถอนพิษได้ แสดงว่าต้นนี้ไม่ธรรมดาเสียแล้ว
 แพทย์แผนไทยใช้สมุนไพรเขยตายแม่ยายปรกสำหรับถอนพิษ เมื่อถูกแมลงมีพิษกัดต่อย  เป็นเริม-งูสวัด-ไฟลามทุ่ง -ขยุ้มตีนหมา  เพียงแค่ใช้ใบขยี้ หรือนำใบบดผสมกับแอลกอฮอล์เหล้าขาวหรือน้ำมะนาว นำไปทาแล้วพอกไว้ ประเดี๋ยวเดียว สักอึดใจก็สามารถถอนพิษได้ สรรพคุณทางยาจริงๆแล้วใช้ได้ทุกส่วน
 5.3การศึกษาค้นคว้าจากหนังสือพิมพ์ชื่อเขยตาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC.
ชื่อวงศ์RUTACEAE
ชื่อเรียกอื่นกระรอกน้ำ กระรอกน้ำข้าว กระโรกน้ำข้าว
ลูกเขยตาย เขนทะ น้ำข้าว ประยงค์ใหญ่ พุทธรักษา มันหมู ส้มชื่น
ลักษณะไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง
ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อย 1-5 ใบ รูปวงรีแกมขอบ
ขนานรูปไข่กลับ ดอกช่อออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว
กลิ่นหอม ผล รูปทรงกลมขนาดปลายนิ้วก้อย เมื่อสุกสีชมพูเรื่อๆ รสหวาน
การกระจายพันธุ์พบทางภาคใต้ของไทย ชอบขึ้นในที่ชื้นตามชายป่าและหมู่บ้าน
5.4การศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ
สรรพคุณของสมุนไพร:
ราก มี รสเมาขื่นปร่า กระทุ้งพิษ แก้พิษฝีภายในและภายนอก ขับน้ำนม แก้พิษงู แก้พิษแมลง แก้ไข้กาฬ แก้โรคผิวหนังพูพอง แก้ไข้รากสาด เกลื่อนฝีให้ยุบ แก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม
เปลือกต้นแก้ฝีภายนอกและภายใน กระทุ้งพิษ แก้พิษงู ขับน้ำนม แก้พิษต่าง ๆ แก้พิษไข้
เนื้อไม้กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนม
ดอกและผลรักษาหิด ผลเขยตายสุกรับประทานได้
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนม
 ข้อมูลการวิจัยที่สำคัญ :
สารเคมี acid phosphatase ; anthocyanin; polyphenol; polyphenol oxidase ; succinic dehydrogenase.
5.5การศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต
ต้น : เขยตายเป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ลำต้นนั้นจะโตประมาณเท่ากับต้นหมากและมีความสูงประมาณ 3-6 เมตร ส่วนผิวของลำต้นนั้น จะเป็นสีเทา ๆ ตกกระเป็นดวงสีขาว ๆ มีขนสั้นนุ่มที่กิ่งก้าน
ใบ : ใบเขยตายเป็นใบประกอบ 3-5 ใบ กว้าง 3.5-5 ซม. มีใบย่อย 2-5 ใบ เรียงสลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 12-18 ซม. แผ่นใบค่อนข้างหนา รูปรีหรือรูปไข่ โคนใบรูปลิ่ม ปลายแหลม ขอบใบด้านบน และด้านล่างเกลี้ยง
ดอก :เขย ตายออกดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ดอกย่อยมีก้าน เรียงสลับบนแกนกลาง  แต่ละช่อย่อยมีดอกดอกย่อยไม่เท่ากัน มีขนสั้นนุ่ม ก้านช่อยาว 1.5-3 ซม. ก้านดอกย่อยสั้นมากหรือไม่มีก้าน ดอกย่อยขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 0.3 ซม. วงกลีบเลี้ยงเป็นแฉก แต่ละแฉกรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกจำนวน 5 อัน สีขาว รูปขอบขนาน ปลายมน เกสรเพศผู้จำนวน 10 อัน เกสรเพศเมียจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ 
รู้จักกับต้นเขยตายแม่ยายชักปรก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glycosmis pentaphylla  (Retz.)  DC.
ชื่อวงศ์ : Rutaceae
ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : กระรอกน้ำ, กระรอกน้ำข้าว (ชลบุรี) ; กระโรกน้ำข้าว, เขยตาย, ลูกเขยตาย (ภาคกลาง) ; เขนทะ  (ภาคเหนือ) ; ตาระแป  (มลายู-ยะลา) ; น้ำข้าว  (ภาคกลาง, ภาคใต้) ; ประยงค์ใหญ่  (กรุงเทพมหานคร) ; พุทธรักษา  (สุโขทัย) ; มันหมู (ประจวบคีรีขันธ์) ; ส้มชื่น  (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ต้น : เขยตายเป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ลำต้นนั้นจะโตประมาณเท่ากับต้นหมากและมีความสูงประมาณ 3-6 เมตร ส่วนผิวของลำต้นนั้น จะเป็นสีเทา ๆ ตกกระเป็นดวงสีขาว ๆ มีขนสั้นนุ่มที่กิ่งก้าน
ใบ : ใบเขยตายเป็นใบประกอบ 3-5 ใบ กว้าง 3.5-5 ซม. มีใบย่อย 2-5 ใบ เรียงสลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 12-18 ซม. แผ่นใบค่อนข้างหนา รูปรีหรือรูปไข่ โคนใบรูปลิ่ม ปลายแหลม ขอบใบด้านบน และด้านล่างเกลี้ยง
ดอก :เขย ตายออกดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ดอกย่อยมีก้าน เรียงสลับบนแกนกลาง  แต่ละช่อย่อยมีดอกดอกย่อยไม่เท่ากัน มีขนสั้นนุ่ม ก้านช่อยาว 1.5-3 ซม. ก้านดอกย่อยสั้นมากหรือไม่มีก้าน ดอกย่อยขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 0.3 ซม. วงกลีบเลี้ยงเป็นแฉก แต่ละแฉกรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกจำนวน 5 อัน สีขาว รูปขอบขนาน ปลายมน เกสรเพศผู้จำนวน 10 อัน เกสรเพศเมียจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ
เมล็ด (ผล) : ผลเขยตายนั้นจะมีสีชมพูกลมและโตเท่าผลมะแว้ง ในผลหนึ่งมีเมล็ดอยู่เพียง 1 เมล็ด เมล็ดนั้นจะกลมมีสีดำ เมื่อผลแก่จัดในฤดูหนาว ก็จะมีรสหวาน
สรรพคุณของสมุนไพรราก มี รสเมาขื่นปร่า กระทุ้งพิษ แก้พิษฝีภายในและภายนอก ขับน้ำนม แก้พิษงู แก้พิษแมลง แก้ไข้กาฬ แก้โรคผิวหนังพูพอง แก้ไข้รากสาด เกลื่อนฝีให้ยุบ แก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม
เปลือกต้นแก้ฝีภายนอกและภายใน กระทุ้งพิษ แก้พิษงู ขับน้ำนม แก้พิษต่าง ๆ แก้พิษไข้
เนื้อไม้กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนม
ดอกและผลรักษาหิด ผลเขยตายสุกรับประทานได้
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนม
การขยายพันธุ์เขยตายขยายพันธุ์โดยการชำกิ่ง ตอนกิ่งและเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ :ราก เปลือกต้น เนื้อไม้ ดอกและผล

5.7.การตรวจสอบความรู้ โดยอภิปรายสมมติฐานทุกข้อ
5.7.1สมมติฐานข้อที่ 1 กล่าวว่า ต้นเขยตายฯ แก้อาการ งูสวัด พิษงู ขยุ้มตีนหมา ฯลฯ ได้
เมื่อสืบค้นข้อมูลพบว่า เป็นไปตามสมมติฐาน
5.7.2สมมติฐานข้อที่ 2 กล่าวว่า รากของต้นเขยตายฯ สามารถนำไปรักษาแมลงสัตว์กัดต่อยได้  โรคไข้กาฬ  และโรคผิวหนังพุพองได้
เมื่อสืบค้นข้อมูลพบว่า เป็นไปตามสมมติฐาน
5.7.3สมมติฐานข้อที่ 3 กล่าวว่า เปลือกของต้นเขยตายฯ มีรสเมาร้อนรักษาพิษแมลงต่างๆได้
เมื่อสืบค้นข้อมูลพบว่า ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน
มีรสเมาร้อน รักษาฝีภายใน ภายนอก แก้พิษไข้ ฯ
5.7.4สมมติฐานข้อที่ 4 กล่าวว่า ต้นเขยตายแม่ยายชักปรกมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปแอฟริกา
เมื่อสืบค้นข้อมูลพบว่า เป็นไปตามสมมติฐาน
5.7.5สมมติฐานข้อที่ 5 กล่าวว่า ต้นเขยตายฯ มีตำนานกล่าวว่าลูกเขยถูกงูพิษกัด แม่ยายเอาใบของเขยตายมาปรกร่างของลูกเขยไว้และไม่กี่ชั่วโมงลูกเขยก็ฟื้นขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์
เมื่อสืบค้นข้อมูลพบว่า เป็นไปตามสมมติฐาน
5.7.6สมมติฐานข้อที่ 6 กล่าวว่า ผลแก่ของต้นเขตายมีสีชมพูหวานขนาด 1 เซนติเมตร
เมื่อสืบค้นข้อมูลพบว่า เป็นไปตามสมมติฐาน
ลำดับการเรียนรู้ที่ 7 สังเคราะห์องค์ความรู้   
เมื่อศึกษามีความรู้แล้วกลุ่มที่จักทำคิดว่าความรู้ที่ได้สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่างๆพอสรุปได้ดังนี้
7.1 ทำให้รู้จักต้นเขยตายแม่ยายชักปรกมากยิ่งขึ้น
7.2 ทำให้ทราบประโยชน์ทางสมุนไพรของต้นเขยตายแม่ยายชักปรก
7.3 รู้จักวิธีการปลูกต้นเขยตายแม่ยายชักปรก
7.4 สามารถนำความรู้ไปใช้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้
7.5 สามรถนำไปสกัดเป็นเอนไซม์ได้
7.6 รู้จักวิธีการสกัดต้นเขยตายแม่ยายชักปรกไปใช้รักษาอาการบาดเจ็บได้
7.7ทำให้ตระหนักถังความสำคัญของต้นเขยตายแม่ยายชักปรกมากยิ่งขึ้น







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น